วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

                                                                 
                                                                             สารเสพติด

โทษและพิษภัยของสารเสพติด


.....เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก
.....โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
.....โทษพิษภัยต่อครอบครัว
1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง




การแก้ปัญหายาเสพติด


1.การติดยา เป็นปัญหาหนัก ของสังคมปัจจุบัน บรรดาผู้ติดยาเหล่านี้ ในครั้งแรกอาจใช้ จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพื่อนชักชวน การอยากลอง อยากมีประสบการณ์แปลกๆ รักสนุก หรือปัญหาครอบครัว เป็นต้น เมื่อตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของสารเสพย์ติดเหล่านี้ ผู้ใช้จะมีความรู้สึก เคลิบเคลิ้มเหมือนว่า อยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่แตกต่างจากโลกที่เคยพบ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ ความรู้สึกชั่วคราว ที่เกิดจากฤทธิ์ของยา ซึ่งจะหายไป เมื่อยาหมดฤทธิ์ ดังนั้นในขณะที่ใช้ยา จึงมักขาดสติ เหตุผล และความยั้งคิด และอาจก่อเรื่อง ที่จะต้องเสียใจในภายหลัง หรือแม้กระทั่งเรื่อง ที่ไม่มีโอกาสเสียใจอีกเลย ผู้ที่ติดยาจึงเปรียบเหมือน ระเบิดเวลา ที่อาจจะระเบิดออกมา เมื่อไรก็ได้ เมื่อระเบิดแล้วก็ก่อปัญหา ทั้งต่อตัวเองและสังคม

2.การใช้ยาเสพย์ติด ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพล มาจากวัฒนธรรม และสังคมต่างประเทศ โดยเฉพาะ ในกรณีของยาอี และยาเค ดังนั้นครอบครัว จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะปลูกฝัง ภูมิคุ้มกันยาเสพย์ติด ให้แก่เยาวชนของชาติ หมั่นสอดส่องดูแล ให้ความเข้าใจ และความอบอุ่น แก่บุตรหลานของท่าน เสียแต่วันนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียใจ และต้องสอดส่องดูแล บุตรหลานของท่าน ภายใต้มาตรการ ของกฎหมายในวันหน้า

3.ในส่วนของตัวเยาวชนเอง ต้องรู้จักการยับยั้งชั่งใจ รู้จักปฏิเสธ หรือพูดคำว่า “ไม่” เมื่อถูกชักชวน ให้ทดลองเสพย์ยา และต้องไม่หลงใหลได้ปลื้ม ไปกับวัฒนธรรม ของคนต่างชาติ ซึ่งมีแนวความคิด ขนบธรรมเนียม และประเพณี แตกต่างจากคนไทย การใช้เวลาว่างให้ถูกต้อง โดยการเล่นกีฬา ดนตรี หรือแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมนั้น ดีกว่าการเที่ยวรักสนุก หรือการไฝ่หาทดลอง ประสบการณ์แปลกๆ จิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง เป็นเหมือนเกราะป้องกัน การแทรกซึม จากภัยของยาเสพย์ติด

4.การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ เรื่องพิษภัยของยาเสพย์ติด คงจะเป็น อีกมาตรการหนึ่ง ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องแก่เยาวชนได้ การจัดค่ายอบรม เรื่องยาเสพย์ติด การจัดรายการประจำ ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ตลอดจน การให้ความรู้ ทางสื่ออื่นๆ น่าจะเป็นวิถีทาง ที่เร่งเร้าจิตสำนึก ของคนไทยให้ช่วยกัน ขจัดปัญหายาเสพย์ติด อีกประการที่สำคัญ คือผู้รับผิดชอบกำกับดูแล มาตรการทางกฎหมายและสังคม คงจะต้องทำหน้าที่ อย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ และต้องยอมรับกันว่า การแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุคือผู้เสพย์ยา แต่เพียงอย่างเดียว ไม่น่าเป็นหนทางแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งได้แก่การลักลอบผลิต และจำหน่าย จะช่วยส่งเสริมให้ การแก้ปัญหา ได้ผลอย่างถาวร การร่วมมือร่วมใจ ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คงจะเป็นนิมิตรหมายอันดี ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ การปัดปัญหา ออกจากตัว หรือการเอาแต่ ตำหนิซึ่งกันและกัน รังแต่จะชะลอปัญหา ให้คั่งค้างหมักหมม จนหนักหนาสาหัส เกินแก้ไขในที่สุด


สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติด
.....สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดมีอยู่มากมายหลายสาเหตุ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ครอบครัวหรือผู้ปกครอง โรงเรียน หรือสถานศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และสังคม ปัญหาจากทางร่างกายและจิตใจของคนผู้นั้น ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
....ซึ่งเราพอสรุปสาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดเป็นข้อๆ ได ดังต่อไปนี้
1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
1.3 การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น


2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง





                                                                สถิติยาเสพติด


จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างกว้างขวาง และรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียกับประเทศชาติหลายด้านด้วยกันทั้งด้านกำลังคน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านการเมือง การปกครอง รัฐบาลได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีการกำหนดนโยบายเร่งด่วนเพื่อจะลดการระบาดและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้กลยุทธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดยาเสพติดภายในประเทศ รวมทั้งใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดกับผู้ที่กระทำผิดในการค้ายาเสพติด และ
ผู้เสพย์ยาเสพติด เป็นต้น
จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดพบว่า ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากในประเทศไทยได้แก่ เฮโรอีน และยาบ้า (แอมเฟตามีน) พื้นที่ที่มีปัญหาเฮโรอีนรุนแรง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ส่วนการแพร่ระบาดของยาบ้ามีมากใน
ภาคกลาง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และจากการรวบรวมสถิติของสำนักงาน ป.ป.ส. พบว่า ปี พ.ศ. 2533 มีนักเรียน นักศึกษา สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา จำนวน 447 คน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จนในปี พ.ศ. 2540 พบว่ามีจำนวนถึง 6,542 คน และจากสถิติข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดรักษาพบว่าในช่วงปี 2535-2543 การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไปมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
จากการสำรวจเพื่อประมาณการจำนวนนักเรียน/นักศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 6-ปริญญาตรี ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยในปี 2542 โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ พบว่าจากนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 5,365,942 คน
ทั่วประเทศมีนักเรียน/นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 663,290 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12.4 โดยการเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

































สิ่งเสพติดในปัจจุบัน

สิ่งเสพย์ติดในปัจจุบันนี้ เท่าที่ทั่วโลกได้ค้นพบและพิสูจน์แล้ว ปรากฏว่ามีสิ่งเสพย์ติดที่แบ่งตามสภาพของยาไม่ต่ำกว่า 116 ชนิด ทั้งนี้ไม่นับยารักษาโรคทั่วๆ ไปที่นำมาใช้เสพกันเป็นประจำจนกลายเป็นสิ่งเสพย์ติด อย่างไรก็ตาม


เราสามารถจำแนกสิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ ที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ


1.จำแนกตามคุณสมบัติการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
1.1 สิ่งเสพย์ติดประเภทกดประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปกดประสาท ส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนงงชาต่อสมองและทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายบางส่วนหยุดทำงานหมดความ เป็นตัวของตัวเองไปชั่วขณะ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เซคแคนนอลหรือ
เซคโคบาร์บิทาน พวกยานอนหลับ และยากล่อมประสาทต่างๆ รวมทั้งเหล้าก็จัดอยู่ในสิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ด้วย


1.2 สิ่งเสพย์ติดประเภทกระตุ้นประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานตามฤทธิ์ของยา ซึ่งอาจจะเกินขีดความสามารถของร่างกาย ดังนั้นเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วจะทำให้ส่วนต่างๆ เหล่านั้นทรุดโทรมเสื่อมสมรรถภาพได้ ซึ่งถ้ายาประเภทนี้อยู่นานๆ อาจจะกลายเป็นคนวิกลจริตประสาทหลอน หรือหัวใจวายถึงตายได้ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ สิ่งเสพย์ติดประเภทแอมแฟตามีน หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า ยาม้า ยาบ้า ยาขยัน นอกจากนี้ก็เป็นจำพวกยาลดความอ้วน ยากระตุ้นประสาทที่ผสมในเครื่องดื่มต่างๆ พวกคาเฟอีนในกาแฟ และพวกโคเคอีนในพวกโคคา


1.3 สิ่งเสพย์ติดประเภทหลอนประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ผู้เสพมีอาการฝันเฟื่อง จิตหลอน เห็นแต่ภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ มึนเมาอยู่ในความฝันทั้งร้ายและดี ประสาทรับความรู้สึกต่างๆจะแปรปรวนไปหมด บางครั้งผู้เสพอาจจะทำอันตรายแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ สิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ได้แก่ แอลเอสดี เมสคาลิน ไซไลซิบิน เอสทีพี เป็นต้น


1.4 สิ่งเสพย์ติดประเภทออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ สิ่งเสพย์ติดที่ใช้แล้วจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายหลายอย่าง คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ซึ่งทำให้มีอาการหลงผิด เกิดความเสื่อมโทรมทั้งสุขภาพทางกายและทางจิต ใช้ไปนานๆ จะทำลายประสาท เกิดประสาทหลอน และมีอาการของโรคจิต


2. จำแนกตามลักษณะการเกิด
2.1 สิ่งเสพย์ติดตามธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ได้จากการสกัดจากพืชบางชนิด ได้แก่ กัญชา และใบกระท่อม เป็นต้น


2.2 สิ่งเสพย์ติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ผลิตขึ้นตามกรรมวิธีทางเคมี ได้แก่ โคเคอีน เฮโรอีน มอร์ฟีน พีธคีน เป็นต้น
                                       
                                        http://www.nmt.ac.th/product/web/1/d10.html

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557



หากนักเรียนต้องการให้ของขวัญเพื่อนในวันปีใหม่ จะใช้โปรแกรมอะไรในการทำชิ้นงาน และทำไมถึงทำโปรแกรมนี้

        เนื่องในวันปีใหม่ จึงอยากจะทำการ์ดอวยพร วันปีใหม่ ให้เพื่อนโดยใช้โปรแกรมPhoto Card Maker เพราะเป็นโปรแกรมทำการ์ด ออกแบบการ์ด โดยสามารถสร้างการ์ดได้จากเทมเพลต (Template) หรือแบบการ์ดสำเร็จรูป ที่โปรแกรมนี้ได้เตรียมมาเอาไว้ให้มากกว่า 100 แบบโดยสามารถนำรูปภาพ รูปถ่ายที่มีมาใส่ ตกแต่งลงในเทมเพลต พร้อมใส่ข้อความที่ต้องการ โดยคุณสามารถนำรูปภาพ รูปถ่ายที่มีมาใส่ ตกแต่งลงในเทมเพลต พร้อมใส่ข้อความที่ต้องการมีรูปแบบตัวอักษร (Font) ให้เลือกมากมาย เพื่อให้คุณได้สร้างการ์ดเสร็จภายในไม่กี่นาที


      เหตุผลที่เลือกทำการ์ดอวยพรปีใหม่เพราะ สะดวกสบาย โดยที่เราไม่ต้องไปส่งให้ถึงที่บ้าน โดยส่งไปทางไปรษณีย์ก็ได้ หรือส่งให้ญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ต่างจังหวัดส่งคำอวยพรที่ดีๆเป็นที่ระลึก ในวันปีใหม่นี้